ความท้าทายและความมุ่งมั่น

พนักงาน ถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการขับเคลื่อนบริษัทฯ ให้สามารถบรรลุเป้าหมายการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนดังนั้น การสรรหาพนักงานที่เหมาะสม การพัฒนาพนักงานให้มีศักยภาพสูง และการดูแลพนักงานอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับบริษัทฯ ให้สามารถแข่งขันท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และก้าวไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน ถือเป็นความท้าทายที่สำคัญของบริษัทฯ ซึ่งที่ผ่านมา บริษัทฯ มุ่งพัฒนาความรู้ ทักษะ และขีดความสามารถของพนักงาน ให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ธุรกิจของบริษัทฯ พร้อมทั้งสนับสนุนความก้าวหน้าทางอาชีพอย่างเท่าเทียม ตลอดจนส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของพนักงานและครอบครัว เพื่อให้พนักงานมีความผูกพันและพร้อมเติบโตอย่างยั่งยืนร่วมกับองค์กร

ผู้มีส่วนได้เสียหลัก

พนักงาน
ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และนักวิเคราะห์
ภาครัฐ
คู่ค้า และคู่ค้าทางธุรกิจ

เป้าหมายการดำเนินงาน

ระดับความผูกพันของพนักงาน
ร้อยละ 46
เงินลงทุนในการฝึกอบรมพนักงาน
4.77 ล้านบาท
จำนวนชั่วโมงการฝึกอบรมพนักงาน
7,489 ชั่วโมง
จำนวนชั่วโมงการฝึกอบรมพนักงานเฉลี่ย
6 ชั่วโมง/คน/ปี
จำนวนเงินลงทุนด้านการฝึกอบรมพนักงานเฉลี่ย
19,700 บาท/คน/ปี
สรรหาพนักงานและผู้บริหารเข้าดำรงตำแหน่งที่สำคัญในบริษัทฯ และตอบสนองต่อกลยุทธ์การเติบโตของบริษัทฯ
ร้อยละ 76.9

การบริหารจัดการพนักงาน

การบริหารจัดการพนักงาน

บริษัทฯ กำกับดูแลพนักงานอย่างเป็นธรรม สอดคล้องตามกฎหมาย กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง อีกทั้ง บริษัทฯ ได้จัดทำแผนกลยุทธ์ในการเพิ่มพูนความสามารถ (Capability Building Strategy) ที่ครอบคลุมตั้งแต่การกำหนดอัตรากำลังพนักงานให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ธุรกิจในระยะเวลา 3-5 ปี การสรรหาพนักงานที่มีความสามารถและเหมาะสมกับตำแหน่งงาน การพัฒนาศักยภาพพนักงาน รวมถึงการรักษาพนักงานที่มีศักยภาพสูงให้สามารถสนับสนุนการดำเนินธุรกิจและเตรียมความพร้อมต่อการขยายธุรกิจของบริษัทฯ ในอนาคต

กลยุทธ์ในการเพิ่มพูนความสามารถ

การสรรหาพนักงาน

บริษัทฯ มุ่งสรรหาพนักงานที่มีศักยภาพสูงผ่านช่องทางที่หลากหลาย อาทิ เว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์สมัครงาน สื่อสังคมออนไลน์ บริษัทจัดหางาน และโครงการ Employee Referral

การพัฒนาขีดความสามารถพนักงาน

บริษัทฯ มุ่งพัฒนาพนักงานทุกระดับ โดยส่งเสริมทักษะและความรู้ที่สอดคล้องกับตำแหน่งงานผ่านช่องทางและโครงการต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน อาทิ โครงการ TPM โดยเริ่มจากกลุ่มพนักงาน Operation และวางแผนขยายไปในพนักงานทั้งหมด และโครงการ Upskill และ Reskill ผ่านการเรียนการสอนผ่านระบบ GREEN E-Learning ซึ่งเป็น Learning Management System ที่เป็นแหล่งรวมคอร์สการเรียนเพื่อพัฒนาทั้ง Functional Skill Soft Skill และ Leadership Skill

การรักษาและดึงดูดพนักงาน

บริษัทฯ มุ่งสร้างความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร เพื่อรักษาพนักงานที่มีความสามารถให้เติบโตไปพร้อมกับองค์กร

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการเพื่อพนักงาน ในเล่มรายงานความยั่งยืนแบบบูรณาการประจำปี 2565 ของบริษัทฯ ได้ที่ รายงานความยั่งยืนแบบบูรณาการประจำปี 2565

  • โครงการ Total Productive Maintenance (TPM) เพื่อเพิ่มทักษะความชำนาญของพนักงานกลุ่มปฏิบัติการ
  • โครงการ Green Learning Management System (LMS) เพื่อส่งเสริมให้พนักงานเรียนรู้และพัฒนาทักษะใหม่ที่จำเป็นในการทำงาน (Upskill) และพัฒนาทักษะเดิมให้ดีขึ้น (Reskill) โดยเรียนรู้ผ่าน GREEN ซึ่งเป็น E-Learning Platform ของบริษัทฯ
  • โครงการ WFH (Working-from-home arrangements) และการทำ Mobile Office เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิตส่วนตัว รวมถึงจัดหาอุปกรณ์ IT ให้แก่พนักงานใช้ในการทำงานในพื้นที่พักอาศัยตามความจำเป็นและเหมาะสมกับลักษณะงานของพนักงานแต่ละบุคคล
  • โครงการปรับเพิ่มสวัสดิการให้แก่คนโสด เพื่อมอบค่ารักษาพยาบาลให้แก่บุพการีสำหรับพนักงานที่อยู่ในสถานะโสด
  • โครงการสร้างผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อช่วยแก้ปัญหาภาวะหมดไฟในการทำงานของพนักงาน

การสรรหาพนักงาน

นอกจากการพัฒนาความสามารถของพนักงาน (Upskill/Reskill) ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง บริษัทฯ ได้จัดทำแผนการสรรหาและดึงดูดบุคลากรที่มีศักยภาพสูง (Top Talent) เพื่อให้เพียงพอกับแผนการเจริญเติบโตทางธุรกิจ รวมทั้งเตรียมความพร้อมในการสร้างผู้สืบทอดตำแหน่งงานให้ทันต่อการเกษียณอายุและการเติบโตของบริษัท

สามารถรับทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจ้างพนักงานใหม่ (New Employee Hires Performance) ได้ที่ Performance Data

การประเมินผลการปฏิบัติงาน

บริษัทฯ ได้กำหนดเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ที่มีประสิทธิภาพ และอยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน โดยยึดเกณฑ์การให้คะแนนตามดัชนีชี้วัดผลสำเร็จ (Key Performance Indicator: KPI) รวมถึงตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี จรรยาบรรณธุรกิจ (Employee performance appraisal systems integrates compliance/codes of conduct) เพื่อให้การประเมินผลเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตลอดจนใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารและรับข้อเสนอแนะ (Feedback) ระหว่างพนักงานทั้งภายในทีม ระหว่างทีม ตลอดจนระหว่างหน่วยงานภายในองค์กร ทั้งนี้ ผลจากการประเมินสามารถนำไปปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานพนักงานในทุกระดับ และทุกสายงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร โดยในปี 2565 บริษัทฯ ได้ดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงานในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้

ประเภทการประเมิน รายละเอียดการประเมิน
การยึดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการทำงาน บริษัทฯ กำหนดให้พนักงานตั้งเป้าหมายในการดำเนินงานให้สอดคล้องตามแต่ละระดับ และสายงาน ร่วมกับหัวหน้างาน เป็นประจำทุกปี (Annually ) โดยพนักงานทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการตั้งเกณฑ์การให้คะแนนของแต่ละเป้าหมายของตนเองได้ การประเมินจากหัวหน้างานจะเป็นไปตามเกณฑ์ที่ได้ตั้งไว้ภายใต้ระยะเวลาที่กำหนดไว้ร่วมกัน
การประเมินผลการปฏิบัติงานหลายมิติ บริษัทฯ กำหนดให้มีการประเมินผลพนักงานจากทั้งหัวหน้างานในแต่ละสายงานของตน เพื่อนร่วมงาน และลูกน้อง เป็นประจำทุกปี (Annually) ซึ่งนับว่าเป็นการประเมินอย่างรอบด้าน โดยผลที่ได้จากการประเมินสามารถนำมาใช้พัฒนาการดำเนินของพนักงานได้อย่างเต็มรูปแบบ
การประเมินผลแบบทีม บริษัทฯ ได้จัดให้มีการประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยส่วนบุคคล (Personal Safety) ของแต่ละทีม ภายใต้หน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์กร เป็นประจำทุกไตรมาส (Quarterly) เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยส่วนบุคคลให้แก่พนักงานภายในทีม รวมทั้งเป็นการปลูกฝังให้พนักงานแต่ละคนในทีมช่วยกันสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติการของตนเองและผู้อื่นในทีม ตลอดจนตรวจเช็คสภาพการทำงานของเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการดำเนินงาน เพื่อให้พนักงานทุกคนสามารถระบุความเสี่ยงทั้งด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของตนเองและผู้อื่นภายในทีม โดยเกณฑ์การประเมินจะอ้างอิงจากจำนวนการเกิดอุบัติเหตุ/อุบัติภัย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดัชนีชี้วัดผลสำเร็จระดับองค์กร (Corporate KPI) โดยผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา จำนวนอุบัติเหตุจากการดำเนินงานส่วนบุคคลเท่ากับศูนย์
การสื่อสารภายในทีมแบบเรียลไทม์ บริษัทฯ สนับสนุนให้พนักงานและหัวหน้างานในทุกสายงานมีการหารือกันแบบเรียลไทม์ (Real time) ในเรื่องการปฏิบัติงาน ผลการดำเนินงาน การพัฒนาศักยภาพของพนักงาน ปัจจัยที่ส่งผลดีและผลเสียต่อการดำเนินงานตามเป้าหมายของพนักงาน ทั้งนี้เนื้อหาในการพูดคุยแตกต่างกันไปในแต่ละสายงาน โดยจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกไตรมาส (Quarterly) เพื่อเพิ่มผลสำเร็จในการเติบโตในสายงานของพนักงาน และช่วยพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานของทีมในแต่ละสายงาน ตลอดจนช่วยขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจขององค์กรให้ประสบความสำเร็จ

การพัฒนาพนักงาน

บริษัทฯ ได้ดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพพนักงานอย่างต่อเนื่อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในภาพรวมให้สูงขึ้น ตลอดจนเพื่อให้พนักงานเกิดความมั่นคงในการทำงานและความผูกพันต่อบริษัทฯ ผ่านการจัดโครงการพัฒนาพนักงานที่หลากหลายสำหรับพนักงานทุกระดับ ตั้งแต่ระดับผู้บริหารจนถึงระดับผู้ปฏิบัติงาน

ประเภท ร้อยละ ชั่วโมงฝึกอบรมเฉลี่ย (ชั่วโมง/คน/ปี) ค่าใช้จ่ายการฝึกอบรมเฉลี่ย (บาท/คน/ปี)
ด้านเทคนิค 28.36 15.97 4,740
ด้านความเป็นผู้นำ 36.23 15.29 52,031
ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 28.09 11.37 2,921
ด้านการสนับสนุนและขยายธุรกิจ 7.33 14.45 11,850

สามารถรับทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาพนักงาน (Employee Development Performance) ได้ที่ Performance Data

การดูแลรักษาพนักงาน GRI 403-6 (2018)

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานครอบคลุมไปถึงครอบครัวของพนักงานอย่างต่อเนื่อง โดยมอบค่าตอบแทน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สวัสดิการและผลประโยชน์ซึ่งตอบสนองต่อความต้องการของพนักงานอย่างทั่วถึง เพื่อสร้างความพึงพอใจในการทำงานและชีวิตส่วนตัวให้แก่พนักงาน รวมถึงเพิ่มความผูกพันต่อบริษัทฯ ซึ่งจะนำไปสู่การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

โครงการ Employee Assistance Program (EAP)

บริษัทฯ ได้จัดทำโครงการ Employee Assistance Program (EAP) ควบคู่ไปกับการตรวจสุขภาพพนักงานประจำปี พร้อมทั้งดูแลพนักงานให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสมเพื่อช่วยลดความเสี่ยงด้านสุขภาพ นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ร่วมกับ GC Group จัดให้มีทีมผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภายนอกไว้ให้พนักงานได้เข้าพูดคุยและขอคำแนะนำกรณีพบปัญหาต่าง ๆ ทั้งปัญหาจากการทำงานและปัญหาส่วนตัว ผ่านการโทรศัพท์หรือแอปพลิเคชันบนมือถือตลอด 24 ชั่วโมง หรือนัดล่วงหน้าเพื่อเข้าพบปรึกษาเป็นการส่วนตัว

สามารถรับทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมสุขภาพและอาชีวอนามัยของพนักงาน ได้ที่ Occupational Health And Safety

นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสวัสดิการของบริษัทฯ เพื่อทำหน้าที่รับข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ หรือเรื่องร้องเรียนจากพนักงาน ซึ่งสมาชิกคณะกรรมการสวัสดิการได้รับคัดเลือกมาจากกลุ่มพนักงานผู้อาสาเข้ามาเป็นตัวแทน ซึ่งพนักงานทุกคนในบริษัทฯ (ร้อยละ 100) มีสิทธิ์เสนอชื่อและเป็นผู้แทนในการสรรหาคณะกรรมการสวัสดิการ โดยในปี 2564 คณะกรรมการสวัสดิการมีสมาชิกทั้งสิ้น 7 คน และมีวาระดำรงตำแหน่ง 2 ปี โดยจะดำเนินการประชุมร่วมกับผู้บริหารของบริษัทฯ เพื่อหารือปัญหา/ข้อเสนอแนะ กำหนดแนวทางการแก้ไข รวมทั้งติดตามความก้าวหน้าและผลการดำเนินงาน เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานทุกคนได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม ซึ่งจะมีการประชุมร่วมกันอย่างเป็นทางการทุกไตรมาส ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

อีกทั้ง บริษัทฯ ยังมีกลไกการรับเรื่องร้องเรียนจากพนักงานผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ เช่น อีเมล ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน (Whistleblower) และระบบตรวจสอบข้อเท็จจริง ตอบสนองและแก้ไข เป็นต้น เพื่อจัดการประเด็นที่เกี่ยวกับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม ตลอดจนกำหนดสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ให้สามารถตอบสนองความต้องการของพนักงานได้ทั่วถึง ตัวอย่างสวัสดิการ และสิทธิประโยชน์ของพนักงาน อาทิ

บริษัทฯ ให้สิทธิวันลาแก่พนักงานหญิงที่เพิ่งมีบุตร (Paid parental leave for the primary caregiver) ไม่เกิน 98 วัน และมีการจัดห้องให้นมบุตร (Breast-feeding/Lactation Benefits) ในพื้นที่สำนักงานใหญ่ (EnCo) เพื่อสนับสนุนพนักงานที่เพิ่งมีบุตรเพื่อให้พนักงานสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่อง

บริษัทฯ ให้สิทธิวันลาแก่พนักงานชายที่เพิ่งมีบุตร (Paid parental leave for the non-primary caregiver) โดยสามารถลาได้สูงสุด 3 วัน เพื่อให้สามารถดูแลครอบครัวและภรรยาที่เพิ่งมีบุตร

บริษัทฯ มีนโยบายสนับสนุนการทำงานแบบยืดหยุ่น (Flexible Hours) และนโยบายให้พนักงานทำงานที่บ้าน (Working from Home) เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อของพนักงาน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19

นอกจากนี้บริษัทฯ ได้มีการจัดโครงการเพื่อสนับสนุนการออกกำลังกายให้แก่พนักงาน (Sports & Health Initiatives) โดยจัดสวัสดิการเกี่ยวกับฟิสเนส ประเภทกีฬาและกิจกรรมสุขภาพ ให้แก่พนักงาน เช่น สระว่ายน้ำ ห้องออกกำลังกาย สนามเทนนิส เป็นต้น เพื่อเป็นการสนับสนุนการสร้างสุขภาพที่ดีให้แก่พนักงาน

บริษัทฯ ได้มีการกำหนดในเอกสารข้อบังคับการทำงาน ซึ่งได้มีการอธิบายถึงการลากิจ ซึ่งรวมไปถึงการให้สิทธิประโยชน์แก่พนักงานในการลากิจเพื่อไปทำธุระที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว (Paid family or care leave beyond parental leave) ได้สูงสุด 6 วัน ต่อปี

บริษัทฯ มีการจัดทำสถานที่ให้นมบุตรและดูแลบุตร Childcare facilities or contributions สำหรับพนักงานเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในอำนวยความสะดวกให้แก่พนักงาน อีกทั้งจัดสวัสดิการค่าเล่าเรียนบุตร เพื่อช่วยเหลือค่าเล่าเรียนบุตรของพนักงานในแต่ละปีการศึกษา

บริษัทฯ จัดสายด่วนสุขภาพใจ สำหรับพนักงานและครอบครัว โดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อลดความเครียดจากการทำงาน (Workplace stress management) และการดำเนินชีวิตประจำวัน ผ่านช่องทางการติดต่อ ทั้งในรูปแบบการรับคำปรึกษาผ่านโทรศัพท์ และวิดีโอคอลการผ่านแอปพลิเคชัน LIGHTPOST ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Employee Assistance Program (EAP)

บริษัทฯ จัดสวัสดิการสวัสดิการรักษาพยาบาล (Medical Welfare) ให้แก่พนักงาน และครอบครัว โดยการให้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ภายใต้วงเงินที่บริษัทฯ กำหนด สูงสุด 35 ครั้ง ต่อ ปีกรมธรรม์ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้จัดสวัสดิการเพื่อสุขภาพในหมวดหมู่อื่นๆ ให้แก่พนักงาน และครอบครัวอาทิ สวัสดิการรักษาโรคฟัน (Dental) สวัสดิการเกี่ยวกับการคลอดบุตร (Maternity) การให้วัคซีนในเด็กอายุไม่เกิน 12 ปี (Vaccination of Children) เป็นต้น

ความผูกพันของพนักงาน

บริษัทฯ สำรวจความผูกพันของพนักงาน (Employee Engagement Survey) เป็นประจำทุกปี และได้นำผลการสำรวจมาปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานของบริษัทฯ ให้ตอบโจทย์ความต้องการของพนักานและยกระดับความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร เพื่อสร้างความสุขในการทำงานและการเป็นพนักงานของบริษัทฯ ตลอดจนเพื่อพัฒนาให้บริษัทฯ เป็นองค์กรที่พนักงานอยากทำงานด้วย โดยในปี 2565 บริษัทฯ ได้ปรับปรุงแบบสอบถามที่ใช้ในการสำรวจความผูกพันของพนักงาน เพื่อให้การวิเคราะห์มีความถูกต้องและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยแบบสอบถามสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 หัวข้อหลัก ได้แก่ ความพึงพอใจของพนักงาน (Job satisfaction) เป้าหมายของพนักงาน (Purpose) ความสุขของพนักงาน (Happiness) และความเครียดจากการทำงาน (Stress)

ตัวอย่างคำถามในแบบสำรวจความผูกพันของพนักงานใน 4 หัวข้อหลัก

ความพึงพอใจของพนักงาน เป้าหมายของพนักงาน ความสุขของพนักงาน ความเครียดจากการทำงาน
ฉันภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของบริษัท ฯ ฉันได้ทำงานที่ตรงความสามารถและประสบการณ์ ฉันสนุกกับงานที่ได้ทำในแต่ละวัน ฉันสามารถจัดการความเครียดที่เกี่ยวข้องกับงานได้
ความคิดเห็นของฉันได้รับการยอมรับในการทำงาน ฉันมีโอกาสที่ดีสำหรับความก้าวหน้าในอาชีพของฉัน บริษัทฯ มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เปิดกว้างและให้การยอมรับในความแตกต่างของแต่ละบุคคล เมื่อเผชิญปัญหาหรืองานเร่งด่วน เพื่อนร่วมงานของฉันทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดีเพื่อแก้สถานการณ์

สามารถรับทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลสำรวจระดับความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร (Results of Employee Engagement Survey) ได้ที่ Performance Data

ความหลากหลายและการยอมรับความแตกต่าง

บริษัทฯ มุ่งดำเนินงานโดยคำนึงถึงความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างของบุคลากรในองค์กรทุกระดับ รวมถึงกำหนดนโยบายการป้องการเลือกปฏิบัติ (zero-tolerance policies) และการต่อต้านการคุกคามทั้งที่เกี่ยวข้องกับทางเพศและรูปแบบอื่น ๆ (harassment (sexual and non-sexual)) ตลอดจนมีกลไกเพื่อรับและพิจารณาข้อร้องเรียน (defined escalation process for reporting incidents) ที่สุจริต และยุติธรรมอย่างเท่าเทียม รวมทั้งรักษาข้อมูลส่วนบุคคล ปกป้อง และมีมาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียนในทุกกระบวนการร้องเรียน ซึ่งเป็นไปตาม นโนบายการรับข้อร้องเรียนของบริษัทฯ (Whistleblower) หากข้อร้องเรียนได้รับการยืนยัน บริษัทฯ จะพิจารณา สอบสวน และกำหนดบทลงโทษ รวมไปถึงดำเนินการเยียวยาและติดตามผล ซึ่งเป็นไปตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวกับการทำงาน ข้อกำหนด แนวปฏิบัติของบริษัทฯ หลักเกณฑ์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (remedial action, disciplinary action, dismissal, or legal action) นอกจากนี้ บริษัทฯ มีการจัดอบรมในหัวข้อการไม่เลือกปฏิบัติและการคุกคามในสถานที่ทำงาน (trainings on discrimination and harassment in the workplace) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการอบรมจรรยาบรรณธุรกิจตั้งแต่เริ่มทำงานกับบริษัทฯ และมีการอบรมเพื่อทบทวนความรู้อย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับจำนวนข้อร้องเรียนด้านการเลือกปฏิบัติและการคุกคามที่ได้รับการยืนยัน รวมถึงจำนวนข้อร้องเรียนที่ได้รับการเยียวยาและแก้ไข (Number of incidents of discrimination and harassment and corrective actions) สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ Performance Data