อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ความท้าทายและความมุ่งมั่น
เนื่องจากแรงงานถือเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาศักยภาพในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนสำหรับทุกองค์กร ประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงานจึงเป็นที่สนใจขององค์กรทั่วโลก เพื่อป้องกันผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ จากความเสี่ยงดังกล่าว บริษัทฯ จึงมุ่งมั่นในการบริหารจัดการความปลอดภัยในทุกการดำเนินงานของบริษัทฯ ครอบคลุมทั้งความปลอดภัยในกระบวนการผลิต และความปลอดภัยส่วนบุคคลให้สอดคล้องกับมาตรฐานและกฎหมายทั้งในระดับประเทศและระดับสากล อาทิ หลักการชี้แนะแห่งสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) ที่ออกในปี 2554 เพื่อลดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น และส่งเสริมการปฏิบัติที่เท่าเทียมตามหลักสิทธิมนุษยชน รวมถึงป้องกันการสูญเสียชีวิต ทรัพย์สิน และชื่อเสียงของบริษัทฯ ตลอดจนผลกระทบเชิงลบต่อ ชุมชน สิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากอุบติเหตุหรืออุบัติการณ์ที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงาน
ผู้มีส่วนได้เสียหลัก
พนักงาน
คู่ค้า และคู่ค้าทางธุรกิจ
ลูกค้า
เป้าหมายการดำเนินงาน
Tier 1 เป็น
0
ในปี 2566
Tier 2 เป็น
0
ในปี 2566
0
ในปี 2566
แนวทางการบริหารจัดการ
กลยุทธ์ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย 5 ปี (2563-2567)
GRI 403-1 (2018), 403-2 (2018)
Personal Safety
|
|
Process safety
|
|
Off the Job Safety
|
|
Emergency/ Crisis Management
|
|
สามารถรับทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Health and Safety Performance) ได้ที่ Performance Data 2023
หน้าที่ของคณะกรรมการกำกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
GRI 403-4 (2018)
บริษัทฯ ได้จัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม (SHE Steering Committee) เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลและติดตามการดำเนินงานตามมาตรฐานด้านความปลอดภัย สุขภาพ และสิ่งแวดล้อมภายในของบริษัทฯ ให้มีมาตรฐานทัดเทียมหลักสากลและบรรลุเป้าหมายในการเป็นองค์กรที่ปราศจากอุบัติเหตุ และจัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย (คปอ.) ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากพนักงาน เพื่อเปิดช่องทางในการปรึกษาหารือกับพนักงาน หรือผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้าน SHE ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และรายงานความคืบหน้าของการดำเนินงานเป็นประจำทุกเดือน
1. กำหนดและทบทวนนโยบายเป้าหมายแผนงานด้าน SHE
2. กำกับดูแล สนับสนุน และติดตามผลการดำเนินงาน ด้าน SHE ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ดำเนินงานตามมาตรฐานสากล และสอดคล้องกับนโยบายของบริษัทฯ
3. พิจารณา อนุมัติ และประกาศใช้คู่มือ SHE และกระบวนการที่มีความสำคัญ และครอบคลุมการปฏิบัติงานของบริษัทฯ
4. ประชุมคณะกรรมการ SHE อย่างน้อยปีละ 6 ครั้ง
5. ในการประชุมมีองค์ประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
6. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานได้ตามความจำเป็นและความเหมาะสม
ความปลอดภัยของกระบวนการผลิต
บริษัทฯ ประยุกต์ใช้มาตรฐานด้านความปลอดภัยในกระบวนการผลิต (Process Safety Management : PSM) มาใช้เป็นมาตรฐานสำหรับการดำเนินงานในพื้นที่โรงงาน และการดำเนินงานตาม Plant Reliability Master Plan เพื่อให้มั่นใจว่าการปฏิบัติงานด้านการผลิตสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ รวมทั้งปลอดภัยอย่างสูงสุด พร้อมทั้งมีการตรวจประเมินการจัดการความปลอดภัยในกระบวนการผลิตโดยผู้ตรวจประเมินภายนอก นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้กำหนดมาตรการบรรเทาความเสี่ยงเพิ่มเติม เพื่อป้องกันความรุนแรงจากความเสี่ยงที่อาจเผชิญระหว่างการดำเนินงาน ได้แก่ ระบบการบริหารจัดการเสถียรภาพและสมรรถนะเครื่องจักร การความคุมประสิทธิภาพการผลิต และมาตรการบรรเทาความเสี่ยงเพื่อลดโอกาสจากเหตุการณ์ที่ไม่ปลอดภัย เป็นต้น
บริษัทฯ ได้พัฒนาศักยภาพความปลอดภัยของบริษัทฯ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงรักษามาตรฐานการปฏิบัติงานให้สามารถดำเนินการผลิตได้อย่างปลอดภัย อย่างต่อเนื่อง โดยจัดทำโครงการความปลอดภัยของกระบวนการผลิต อาทิ
โครงการ Bow-Tie Barrier Validation Checklist GRI 403-2 (2018)
บริษัทฯ นำการชี้บ่งความเสี่ยงแบบ Bow-Tie มาใช้ในการติดตามเฝ้าระวังการเกิดอุบัติเหตุด้าน Process Safety และใช้ Bow-Tie เป็นเครื่องมือในสอบทวนมาตรการควบคุม (Barriers) ต่าง ๆ ที่ใช้ป้องกันและลดผลกระทบจากเหตุการณ์อุบัติการณ์ร้ายแรง (Major Accident Event: MAE) ของโรงงาน โดยสอบทวนการทำ Preventive Maintenance (PM) ของอุปกรณ์ป้องกันร่วมกับการตรวจสอบหน้างานจริง มีการทำการประเมินการทำงาน และแจกแจงออกมาเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การดำเนินงานที่ตรงตามมาตรฐานและมีศักยภาพ และการดำเนินงานที่ต้องมีการแก้ไข ดังนั้น กรณีพบข้อบกพร่อง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องพิจารณาแก้ไขให้กลับมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามปกติ และสามารถป้องกันการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง ลดการหยุดชะงักในกระบวนการผลิต ทำให้มีการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ได้นำผลที่ได้มาปรับปรุงและพัฒนาระบบและมาตรฐานการควบคุมความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องให้พร้อมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่อาจเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคตผ่านการซ้อมแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ ในปี 2566 บริษัทฯ มีการจัดทำการบ่งชี้ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากทั้ง 2 โรงงานในจังหวัดระยอง และจังหวัดชลบุรี
โครงการพัฒนาศักยภาพการตรวจสอบข้อบกพร่องในกระบวนการผลิต
บริษัทฯ ดำเนินโครงการนี้ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 เพื่อสร้างความตระหนักควบคู่กับส่งเสริมความรู้และความเข้าใจถึงการตรวจตราข้อบกพร่องและความปลอดภัยในกระบวนการผลิต ผ่านการจัดอบรมให้แก่พนักงานในพื้นที่ปฏิบัติงาน โดยมอบหมายให้พนักงานที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญ ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ในการใช้งานอุปกรณ์และเครื่องจักรต่าง ๆ ผ่านระบบ e-FRA Training รวมถึงฝึกทักษะการสังเกตการณ์และบ่งชี้สิ่งผิดปกติในกระบวนการผลิตอย่างถูกต้อง ตลอดจนส่งเสริมความรู้ในการป้องกันอันตราย หรือความเสี่ยงจากการทำงาน นอกจากนี้ พนักงานผู้เชี่ยวชาญ ยังทำหน้าที่สอบถาม หารือ และบันทึกสิ่งที่ผิดปกติ พร้อมทั้งประเมินความเสี่ยงจากพนักงานหน้างาน เพื่อหาทางปรับปรุงการดำเนินงาน และรายงานผลการดำเนินงานในที่ประชุมคณะกรรมการความปลอดภัย (คปอ.) ทุกเดือน
การซ้อมแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ GRI 403-5 (2018), 403-7 (2018)
บริษัทฯ ซ้อมแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP) ประจำปี ผ่านระบบ Microsoft Team ซึ่งวัตถุประสงค์ในการฝึกซ้อม คือ การสร้างความเข้าใจและบทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน ฝึกซ้อมการใช้กลยุทธ์ของแต่ละหน่วยงาน และประสานการทำงานร่วมกัน เพื่อลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นในขั้นตอนการปฎิบัติจริง
โดยภายใต้การฝึกซ้อมในปีนี้ ได้มีการจำลองสถานการณ์หลังจากเหตุการณ์ไฟฟ้าลัดวงจรจากตู้ควบคุม หรือ Auto Rack Warehouse ทำให้เกิดเพลิงลุกไหม้ และทำให้โครงสร้างของ Auto Rack Warehouse เสียหาย ส่งผลให้บริษัทฯ ไม่สามารถส่งสินค้าให้ลูกค้าทั้งในและต่างประเทศได้ ด้วยเหตุนี้แต่ละหน่วยงานจึงต้องมีร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน โดยมีการลำดับเหตุการณ์ และกำหนดข้อปฏิบัติในแต่ละช่วงเวลา หน้าที่ความรับผิดชอบที่ควรจะเป็น และเกณฑ์การประเมินสถานการณ์ และรายชื่อผู้รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรม เพื่อที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
การอบรมผ่านการจำลองสถานการณ์จะมีการปรับเปลี่ยนไปในแต่ละปี และช่วยให้ผู้เข้าร่วมรู้ถึงบทบาท และหน้าที่ และแนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน เพื่อรองรับอุบัติเหตุและลดผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ
ประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ
- พนักงานที่เข้าร่วมโครงการ 56 คน
- บริษัทฯ สามารถบริหารจัดการเพื่อตอบสนองต่อความเสี่ยงที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสมและทันท่วงที
- เพื่อตอบรับกับอุบัติการณ์และลดผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ
- BC Team เข้าใจถึงบทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบตน
- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าดำเนินการแก้ไขปัญหาได้ทันทีและประสานการทำงานร่วมกัน เพื่อฝึกซ้อมการใช้กลยุทธ์ของแต่ละหน่วยงาน เพื่อให้บริษัทฯ สามารถดําเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง
โครงการ e -Permit to work (e-PTW)
บริษัทฯ ได้เริ่มโครงการ e -Permit to work (e-PTW) ในพื้นที่โรงงานจังหวัดระยองและชลบุรี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขอใบอนุญาตทำงานให้มีความสะดวกสบายมากขึ้น ลดระยะเวลาการดำเนินการ อีกทั้งยังช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ตรวจสอบในการควบคุมและตรวจสอบการดำเนินงาน เนื่องจากข้อมูลถูกบันทึกอยู่บนระบบออนไลน์ทำให้สามารถอนุมัติในระบบ e-PTW ได้ทุกที่ทุกเวลา ในการร้องขอการอนุมัติการเปิดงานของผู้รับเหมา ระบบสามารถดึงข้อมูลของผู้รับเหมาได้อย่างอัตโนมัติจากฐานข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลการอบรมความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของผู้รับเหมา การเข้าอบรมการดำเนินงานในพื้นที่แคบ (Confined Space Training) และทักษะการทำงานต่าง ๆ ซึ่งสามารถลดความผิดพลาดในการตรวจสอบข้อมูลได้ นอกจากนี้ ระบบยังสามารถแสดงผลถึงประเภทงานต่าง ๆ ที่ได้รับการอนุมัติ ในลักษณะของ Dashboard ที่แสดงผลให้เห็นอย่างชัดเจน นำมาซึ่งการเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และสามารถนำเอาข้อมูลการดำเนินงานไปต่อยอดในการทำการประเมินไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงาน หรือการติดตามผลประเภทงานที่อาจจะมีความเสี่ยงในเรื่องของอาชีวอนามัยได้อีกด้วย
ความปลอดภัยส่วนบุคคล GRI 403-2 (2018)
บริษัทฯ ส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัย เพื่อสร้างความตระหนักด้านความปลอดภัยส่วนบุคคลให้แก่พนักงาน และผู้รับเหมา รวมถึงกำหนดเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง เช่น การจัดกิจกรรม 5ส การจัดประชุมคณะกรรมการความปลอดภัย (คปอ.) เพื่อรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานด้านความปลอดภัยเป็นประจำทุกเดือน การรายงานความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ การทำกิจกรรม SWO (Safety Walk Observation) อย่างต่อเนื่อง และกำหนดมาตรฐาน/กระบวนการความปลอดภัย เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม อุบัติเหตุ/อุบัติภัย นั้น ยังคงเป็นเหตุการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้เสมอ และมีแนวโน้มความรุนแรงที่อาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์และเป้าหมายความปลอดภัยของบริษัทฯ ในระดับสูง บริษัทฯ จึงกำหนดแผนบรรเทาความเสี่ยงและโครงการส่งเสริมความปลอดภัยส่วนบุคคล เพื่อลดความรุนแรงของเหตการณ์ดังกล่าว ดังนี้
การสร้างความตระหนักด้านความปลอดภัย GRI 403-2 (2018)
บริษัทฯ ยังคงสร้างความตระหนักด้านความปลอดภัยและสร้างความเข้มแข็งในการจัดการระบบมาตรฐานที่จำเป็นให้กับบุคลากรทุกระดับในการผลิตเป็นประจำ ประกอบด้วย ความปลอดภัยในโรงงานต้องเป็นไปตามมาตรฐานตามกฎหมาย (Process Safety Management) การกำหนดแผนลดการใช้พลังงานในการผลิต การส่งเสริมวินัยการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย และวางแผนการลดปริมาณของเสียจากการผลิต (Waste Reduction) ร่วมด้วย
โครงการ Understand Risk
บริษัทฯ จัดทำโครงการ Understand Risk เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องความปลอดภัย และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานให้แก่ผู้ปฏิบัติงานและผู้รับเหมา ผ่านการพูดคุย และสอบถามผู้ปฏิบัติงานถึงความเข้าใจและความสามารถในการระบุความเสี่ยงทั้งด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของตนเอง ตลอดจนทราบถึงขั้นตอนป้องกันความเสี่ยงได้อย่างถูกต้องหรือไม่ หากพบว่าผู้ปฏิบัติงานมีความรู้และความเข้าใจถึงการระบุความเสี่ยง และการป้องกันความเสี่ยงดังกล่าวไม่เพียงพอ บริษัทฯ จะจัดการอบรมเพิ่มเติมถึงแนวทางการป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไป ซึ่งจากการดำเนินโครงการพบว่า พนักงานมีความรู้ความเข้าใจถึงความเสี่ยงและความปลอดภัยในการปฏิบัติงานเสมอมา
โครงการ Safety Walk Observation (SWO)
บริษัทฯ ดำเนินโครงการ SWO ต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2556 เพื่อสร้างวัฒนธรรมที่ปลอดภัยในองค์กร โดยส่งเสริมให้ผู้บริหารระดับผู้จัดการฝ่าย (Vice President) นำทีมสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานของพนักงานและผู้รับเหมาทุกคนในกระบวนการผลิต ผ่านการเดินสำรวจกิจกรรม (Internal Inspection) และพฤติกรรมเสี่ยง รวมถึงความปลอดภัยของเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในพื้นที่ปฏิบัติงานเป็นประจำ 5 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 15 นาที เพื่อบันทึกข้อมูลแล้วร่วมสนทนา ปรึกษา หารือ หากพบพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยในพื้นที่ปฏิบัติงาน ซึ่งผู้สำรวจสามารถกล่าวชมเชยเมื่อทำงานปลอดภัย หรือตักเตือนเมื่อพบเจอการทำงานที่ไม่ปลอดภัย เพื่อรายงานในที่ประชุมOperation Committee Meeting (OCM) ทุกวันปฏิบัติงาน หรือ คณะกรรมการความปลอดภัย (คปอ.) ทุกเดือน
โครงการ One Supervisor One B-CAREs GRI 403-7 (2018)
บริษัทฯ มุ่งสร้างการมีส่วนร่วมในงานด้านความปลอดภัยของหัวหน้างาน กับผู้ปฏิบัติงานภายในองค์กร ผู้รับเหมา หรือหน่วยงานอื่น ๆ โดยเน้นใช้หลักการ Engineering Control แก้ไข้ปัญหาของแหล่งกำเนิดอันตราย และเป็นการสร้างวัฒนธรรม Safety in Line Responsibility โดยจะให้หัวหน้างาน หรือ Supervisor ของพนักงานและผู้รับเหมาส่งโครงการปรับปรุงความปลอดภัยในการทำงานของตนเองเข้าร่วมประกวด ซึ่งโครงการดังกล่าวจะช่วยสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยของให้เข้มแข็ง เกิดความตระหนักด้านความปลอดภัยและพัฒนาแนวความคิดด้านการปรับปรุงการทำงานอย่างปลอดภัยให้กับผู้ปฏิบัติงาน
ในปี 2566 บริษัทฯ ได้มีการจัดประกวด ONE SUP ONE B-CARES Project Season 3 -2023 ซึ่งได้มีการจัดตั้งให้พนักงานมีการเข้าร่วมโครงการเพื่อนำเสนอการพัฒนากิจกรรมการดำเนินงานที่สร้างความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน เพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บของมือและนิ้ว (Hand & Fingers Injury Prevention) โดย 3 โครงการที่ได้รับรางวัลลำดับที่ 1 – 3 ได้แก่
- การจัดทำ Special Tool Remove Cartridge Filter
- การปรับเปลี่ยนและออกแบบ Coupling Weight Balance เพื่อช่วยพยุงน้ำหนัก CPO & RPO Coupling Hos เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บมือ แขน ขา และป้องกันอุบัติเหตุแบบยั่งยืน
- การย้ายจุดเก็บตัวอย่างของ 2300C001
โครงการ B-CAREs KYT GRI 403-7 (2018)
บริษัทฯ จัดทำโครงการ B-CAREs KYT เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในงานด้านความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงเป็นการสร้างวัฒนธรรมการเน้นย้ำให้มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์อันตรายหน้างาน และคาดการณ์อันตรายที่อาจเกิดขึ้น พร้อมทั้งกำหนดมาตรการ หรือวิธีการจัดการอันตรายเหล่านั้นเพื่อให้เกิดปลอดภัยกับผู้ปฏิบัติงานทุกคน ผ่านกิจกรรมประกวด Clip VDO B-CAREs KYT
กิจกรรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย GRI 403-2 (2018), 403-4 (2018), 403-5 (2018), 403-7 (2018)
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
การส่งเสริมสุขภาพและอาชีวอนามัย GRI 403-3 (2018), 403-6 (2018)
บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพของพนักงาน โดยจัดให้มีการตรวจสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงโดยแพทย์ที่มีคุณสมบัติตามกฎหมายกำหนด โดยตรวจครั้งแรกให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วันนับแต่วันที่เข้าทำงาน และ ตรวจครั้งต่อไปอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ในกรณีที่หยุดงาน 3 วันติดต่อกันเนื่องจากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีพบความผิดปกติ หรือผู้ปฏิบัติงานอาจมีอาการเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานให้ บริษัทฯ จัดให้พนักงานได้รับการรักษาทันที และทำการตรวจสอบหาสาเหตุของความผิดปกติเพื่อป้องกันต่อไป ทั้งนี้ ผลการตรวจสุขภาพต้องมีการรักษาเป็นความลับตามนโยบายความเป็นส่วนตัวอย่างเคร่งครัด พนักงานของเรา