ความท้าทายและความมุ่งมั่น

ปัจจุบันประเด็นสิทธิมนุษยชนเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการใช้แรงงานผิดกฎหมาย ในการขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโต ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนในรูปแบบต่าง ๆ ที่มนุษย์ทุกคนพึงได้รับอย่างเท่าเทียม เช่น การเลือกปฏิบัติ การจ้างแรงงานเด็ก และ แรงงานบังคับ เป็นต้น รวมถึงก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อภาพลักษณ์ของธุรกิจอีกด้วย ดังนั้น บริษัทฯ จึงยึดหลักปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนในการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติที่กำหนดไว้ในทั้งกฎหมายไทย กฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนมีการประเมินความเสี่ยงที่อาจนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการดำเนินธุรกิจขององค์กรอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงการละเมิดสิทธิมนุษยชนของพนักงาน รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องของบริษัทฯ ตลอดห่วงโซ่คุณค่า

ผู้มีส่วนได้เสียหลัก

พนักงาน
ภาครัฐ
ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และนักวิเคราะห์
คู่ค้า และคู่ค้าทางธุรกิจ

แนวทางการบริหารจัดการ

นโยบายสิทธิมนุษยชน

บริษัทฯ เคารพและปฏิบัติตามหลักกฎหมายเรื่องสิทธิมนุษยชน รวมถึงการป้องกันและหลีกเลี่ยงการละเมิดสิทธิมนุษยชนในหัวข้อต่าง ๆ ของพนักงาน ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง (บริษัทร่วมทุน) หุ้นส่วนทางธุรกิจ (คู่ค้า ผู้รับเหมา และลูกค้า) และชุมชนท้องถิ่น อาทิ การค้ามนุษย์ (Human Trafficking) การบังคับใช้แรงงาน (Forced Labor) การจ้างแรงงานเด็ก (Child Labor) การจำกัดเสรีภาพในการสมาคม (Freedom of Association) การจำกัดสิทธิ์ในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง (Right to Collective Bargaining) การจ่ายค่าตอบแทนอย่างเป็นธรรม (Equal Remuneration) การเลือกปฏิบัติ (Discrimination) รวมถึงป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนในหัวข้ออื่น ๆ (Other Rights) เช่น การคุกคามทางเพศ และการคุกคามในรูปแบบอื่น ๆ (Anti-harassment in both sexual and non-sexual manner) ตลอดจน เคารพสิทธิของบุคคลในกลุ่มเปราะบาง (Special Importance to Rights of Vulnerable Groups) เช่น เด็ก (Children) ผู้พิการ (Persons with Disabilities) กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQI+) เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมา บริษัทฯ ดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนภายใต้บทบัญญัติที่กําหนดไว้ตาม กฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ รวมถึงกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล (International Accepted Standards) ประกอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) ขององค์การสหประชาชาติ หลักการชี้นําของสหประชาชาติว่าด้วยการดําเนินธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (UN Guiding Principles on Business and Human Rights) คู่มือการพัฒนานโยบายสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ (UN Global Compact Guide to Develop a Human Rights Policy) และปฏิญญาว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐาน ในการทํางานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization (ILO) Declaration on Fundamental Principles and Rights)

นโยบายสิทธิมนุษยชน ครอบคลุม (Human rights policy requires) ทุกธุรกิจที่ บริษัทฯ เป็นผู้ดำเนินงาน ได้แก่ หน่วยงานขององค์กร พื้นที่ปฏิบัติงานและหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของบริษัทฯ (Direct Activities) ตลอดจนผลิตภัณฑ์และการบริการ (Product and Services) ทั้งนี้ บริษัทฯ คาดหวัง (GGC requires) ให้คู้ค้าทางธุรกิจอื่น ๆ (Business Partners) อาทิ บริษัทร่วม (Joint Ventures) ตลอดจน ผู้รับเหมาหลัก ผู้ค้า (Suppliers and Contractors) และกลุ่มบริษัทผู้ค้าใด ๆ ที่ บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจด้วย ต้องปฏิบัติตามและให้มีการรักษาระดับมาตรฐานการดำเนินงานของตนเอง ที่สอดคล้องกับ

กระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน

บริษัทฯ ได้กำหนดกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ประกอบด้วย การระบุประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องและครอบคลุมทุกธุรกิจที่ บริษัทฯ เป็นผู้ดำเนินงาน ห่วงโซ่อุปทาน ตลอดจน ผู้รับเหมาหลัก ผู้ค้า และกลุ่มบริษัทผู้ค้าใด ๆ ที่ บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจด้วย (Risk identification in our own operations, value chain or other activities related to our business including new business relations such as mergers, acquisitions, joint ventures) การกำหนดนโยบายและขอบเขตการตรวจสอบ การวิเคราะห์ความรุนแรงของผลกระทบและโอกาสที่อาจเกิดขึ้น การบรรเทาผลกระทบ และการติดตามและทบทวนผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้จะช่วยจัดลำดับความสำคัญประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนภายในองค์กร ตลอดจนแนวทางการป้องกัน (Mitigation Actions) และเยียวยาผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน (Remediation Actions) ให้เหมาะสม เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานของบริษัทฯ จะไม่ส่งผลให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่คุณค่า

นโยบายการส่งเสริมผู้พิการ

บริษัทฯ ได้ตระหนักถึงการยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้ดีขึ้น และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้พิการได้มีโอกาสแสดงความสามารถ ซึ่งก่อให้เกิดการมีรายได้ พึ่งพาตนเองได้ และลดภาระของครอบครัวและสังคมที่ต้องให้การอุปการะเลี้ยงดู รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้คนพิการเป็นพลังสำคัญในการเสริมสร้างทางเศรษฐกิจของครอบครัวและประเทศต่อไป โดยเฉพาะกลุ่มคนพิการที่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งมีบทบัญญัติเพื่อกำหนดมาตรการสำคัญเกี่ยวกับการส่งเสริมอาชีพและคุ้มครองการมีงานทำของคนพิการ

ในปี 2565 บริษัทฯ ได้ดำเนินการตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 มาตรา 33 และมาตรา 35 โดยมีการรับผู้พิการเข้าทำงานในแผนกต่างๆ ร่วมกับการให้สัมปทานจัดสถานที่จำหน่ายสินค้า จ้างเหมาบริการล่ามภาษามือและผู้ดูแลคนพิการ รวมจำนวน 3 คน โดยมีการรับผู้พิการเข้าทำงานมากกว่าอัตราส่วนระหว่างคนปกติกับคนพิการที่ 1 ต่อ 100 คน ตามที่กฎหมายกำหนด