การประเมินประเด็นสำคัญ
กระบวนการประเมินประเด็นที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาความยั่งยืน GRI 3-1 (2021)
บริษัทฯ จัดทำรายงานความยั่งยืนแบบบูรณาการ โดยคัดเลือกและประเมินประเด็นที่มีความสำคัญต่อการพัฒนา ความยั่งยืนของบริษัทฯ ควบคู่กับการคำนึงถึงประเด็นที่สอดคล้องกับความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม โดยอ้างอิงตามแนวทางการรายงานของ Global Reporting Initiative (GRI) Standards 2022 Integrated Reporting (IR) Framework ของ International Integrated Reporting Council (IIRC) Taskforce on Climate-related Financial Disclosures (TCFD) รวมถึงคู่มือจัดทำแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปีแบบ 56-1 One Report ทั้งนี้การจัดลำดับของประเด็นสำคัญมีขั้นตอนจัดทำอ้างอิง GRI โดยประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้
บริษัทฯ รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจตลอดห่วงโซ่คุณค่า ทั้งภายในและภายนอกในบริบทของความยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ผ่านการพูดคุยกับผู้มีส่วนได้เสียและผู้เชี่ยวชาญ การหาข้อมูลจากแนวโน้มการตอบสนองต่อประเด็นสำคัญทั่วโลก และจากอุตสาหกรรมเดียวกัน รวมไปถึงเป้าหมายด้านความยั่งยืนขององค์กรสหประชาชาติ เพื่อนำมาเทียบกับทิศทางกลยุทธ์ของบริษัทฯ และความท้าทายในการดำเนินงาน นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีการพูดคุยและสัมภาษณ์กับผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ ในการจัดทำการประเมิน หรือทบทวนการระบุประเด็นสำคัญจะมีการจัดทำขึ้นทุก ๆ ปี เพื่อเฟ้นหาประเด็นสำคัญ การเปลี่ยนแปลง และผลกระทบที่อาจจะมีผลต่อบริษัทฯ ได้อย่างทันท่วงที
บริษัทฯ ดำเนินการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้เสีย จำนวน 6 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ถือหุ้น นักลงทุนและนักวิเคราะห์ ชุมชนและสังคม ภาครัฐ พนักงาน คู่ค้า และลูกค้า และผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ในอุตสาหกรรมของบริษัทฯ เพื่อพูดคุยและสอบถามความกังวล และความคาดหวังในแต่ละประเด็นที่มีความสำคัญว่าประเด็นเหล่านั้นสามารถสร้างผลกระทบในเชิงบวก และเชิงลบ ครอบคลุมประเด็นด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน ต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างไร รวมถึงความเสี่ยงและโอกาสที่อาจจะเกิดขึ้นกับการดำเนินธุรกิจ โดยคำนึงถึงปัจจัยภายในและภายนอกในห่วงโซ่คุณค่าของบริษัทฯ ซึ่งการวิเคราะห์ และระบุประเด็นสำคัญนี้ ได้เป็นไปตามการจัดทำ Double Materiality ที่สนับสนุนให้บริษัทฯ มีการคำนึงถึงการระบุผลกระทบทั้งจากภายนอกที่มีต่อองค์กร และผลกระทบขององค์กรที่มีต่อภายนอก
ทั้งนี้ การทราบถึงผลกระทบเหล่านี้ช่วยให้บริษัทฯ เตรียมความพร้อมในการรับมือผละกระทบเชิงลบ และสร้างผลกระทบเชิงบวกผ่านการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ได้
หลังจากที่ทราบถึงประเด็นผลกระทบจากประเด็นที่มีความสำคัญของบริษัทฯ ในขั้นตอนที่ 2 แล้ว บริษัทฯ ทำการรวบรวมความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประเมินผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบ ต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงสิทธิมนุษยชน โดยพิจารณาจาก ความเป็นไปได้ในการเกิดผลกระทบเหล่านั้น (Likelihood) และความรุนแรงของผลกระทบเหล่านั้น (Severity) ซึ่งภายใต้ความรุนแรง บริษัทฯ จะคำนึงถึงขนาดพื้นที่ หรือจำนวนคนที่ได้รับผลกระทบ (Scale) ขอบเขตของผลกระทบเหล่านั้นว่าสูง หรือต่ำ (Scope) และความยากง่ายในการแก้ไข ฟื้นฟูผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้น ๆ (Remendability) โดยเฉพาะผลกระทบทางลบที่อาจจะเกิดขึ้น
บริษัทฯ นำผลคะแนนที่ได้จากการวิเคราะห์มาจัดลำดับประเด็นที่มีความสำคัญของบริษัทฯ และมีการนำผลที่ได้มาทำการทดสอบโดยเทียบกับแนวโน้มความสำคัญของประเด็นที่มีความสำคัญในระดับสากล และนำเสนอผลการประเมินประเด็นสำคัญกับบริบท เป้าหมาย และกลยุทธ์ของบริษัทฯ แก่คณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะผู้บริหาร และคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ เพื่อพิจารณาเห็นชอบในการเปิดเผยข้อมูลในมิติต่าง ๆ และกำหนดเนื้อหาของรายงานบูรณาการความยั่งยืน ปี 2566
ทั้งนี้ การจัดลำดับกระบวนการประเมินประเด็นสำคัญ จะรวมอยู่ในกระบวนการหารือในการบริหารความเสี่ยงขององค์กรโดยรวม (Enterprise Risk Management : ERM) ของบริษัทฯ เพื่อแสดงถึงความโปร่งใส ความชัดเจน และความถูกต้องของข้อมูล ซึ่งกระบวนการประเมินประเด็นสำคัญ การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย ตลอดจนการรวบรวมและประเมินผลข้อมูล จัดให้มีการตรวจสอบจากหน่วยงานอิสระภายนอก โดยผลการรับรองได้แสดงไว้ท้ายเล่ม ภายใต้หัวข้อภาคผนวก (Appendix)
กระบวนการกำหนดเนื้อหาการรายงาน
ผลการจัดลำดับประเด็นสำคัญ
ประเด็นที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาความยั่งยืน GRI 3-3 (2021)
ผลกระทบต่อบริษัทจากประเด็นสำคัญ
ผลกระทบเชิงบวก
- เพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจและการแข่งขันทางธุรกิจ รวมทั้งดึงดูดความสนใจของนักลงทุน
- พร้อมรับมือความเสี่ยง และสามารถบรรเทาผลกระทบจากความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที
ผลกระทบเชิงลบ
- การไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจ ลดประสิทธิภาพในการแข่งขันทางธุรกิจและความเชื่อมั่นของนักลงทุน ส่งผลให้ความสนใจของนักลงทุนต่อบริษัทฯ น้อยลง
- เพิ่มความเสี่ยงด้านประเด็นการละเมิดข้อกำหนด กฎหมาย และสิทธิมนุษยชน
ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียภายนอก
ผลกระทบเชิงบวก
- ผู้มีส่วนได้เสียได้รับผลตอบแทนและการปฏิบัติที่เป็นธรรม ไม่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนและแรงงาน หรือถูกเอาเปรียบ
- ลดความเสียหายจากประเด็นการละเมิดกฎหมาย สิทธิมนุษยชนและแรงงาน ทำให้ผู้มีส่วนได้เสียสามารถบรรลุเป้าหมายของนโยบายที่ตนเองกำหนดได้อย่างมีศักยภาพ
- ผู้มีส่วนได้เสียได้รับการบรรเทาและเยียวยาผลกระทบจากความเสี่ยงอย่างเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ
ผลกระทบเชิงลบ
- ผู้มีส่วนได้เสียได้รับผลตอบแทนและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม นำมาซึ่งประเด็นการละเมิดกฎหมาย สิทธิมนุษยชนและแรงงาน
- เกิดความเสียหายจากประเด็นการละเมิดกฎหมาย สิทธิมนุษยชนและแรงงาน ทำให้ผู้มีส่วนได้เสียไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการดำเนินธุรกิจขององค์กรได้
- ผู้มีส่วนได้เสียได้รับผลกระทบรุนแรงจากการบริหารความเสี่ยงที่ไม่มีประสิทธิภาพ และไม่ได้รับการบรรเทาความเสี่ยงที่เป็นธรรม
ความรุนแรงของผลกระทบ
ขอบเขตของผลกระทบ
ภายในองค์กร
ภายนอกองค์กร
แนวทางการดำเนินงานและผลการดำเนินงาน
ISR:
- การกำกับดูแลกิจการที่ดี
- จรรยาบรรณธุรกิจ
- การบริหารจัดการความเสี่ยง
GRI
SDGs
ผลกระทบต่อบริษัทจากประเด็นสำคัญ
ผลกระทบเชิงบวก
- เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำกว่า 50% ของผลิตภัณฑ์ในปี 2566
- เพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการทรัพยากรและพลังงาน ตลอดจนเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน รวมทั้งยกระดับมาตรฐานการผลิตผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ ส่งผลให้ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงกว่า 1,193 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายกว่า 4.49 million THB
ผลกระทบเชิงลบ
- ราคาวัตถุดิบทางการเกษตรสูงขึ้นกว่า 30% สำหรับวัตถุดิบอ้อย และ 40% สำหรับวัตถุดิบปาล์มน้ำมัน จากสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน ส่งผลต่อกระบวนการผลิต และอาจนำไปสู่การหยุดชะงักในการผลิตของบริษัทฯ
- ปริมาณการใช้พลังงาน รวมทั้งปริมาณขยะและของเสีย เพิ่มสูงขึ้น จากการบริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งในระยะ สั้นและระยะยาว ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือขององค์กร
- ได้รับความเสียหายจากการละเมิดกฎหมาย ข้อกำหนด และมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม
ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียภายนอก
ผลกระทบเชิงบวก
- ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และชุมชนใกล้เคียง จากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงและปริมาณขยะและของเสียที่ลดลง
- ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับการสนับสนุนในการออกนโยบายหรือมาตรการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสามารถบรรลุเป้าหมายการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการสภาพภูมิอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ตอบสนองความต้องการสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ผลกระทบเชิงลบ
- เกษตรกรประสบปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลต่อคุณภาพของผลผลิต และทำให้จำนวนผลผลิตต่ำลง
- ละเมิดสิทธิมนุษยชน และความเป็นอยู่ที่ดีของคนในชุมชมรอบข้าง จากปริมาณขยะและของเสีย รวมถึงมลพิษที่ถูกปล่อยออกมา
ความรุนแรงของผลกระทบ
ขอบเขตของผลกระทบ
ภายในองค์กร
ภายนอกองค์กร
แนวทางการดำเนินงานและผลการดำเนินงาน
ISR:
- การผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างมีความรับผิดชอบ
- การกักเก็บและชดเชยคาร์บอน
GRI
- GRI 305 Emission 2016: SOx, NOx and other significant air emissions (GRI 305-7)
- GRI 303 Water and Effluent 2018: Water Withdrawal (GRI 303-3), Water Discharge (GRI 303-4), Water Consumption (GRI 303-5)
- GRI 306 Waste 2020: Waste Generated (GRI 306-3), Waste Diverted from Disposal (GRI 306-4), Waste Directed to Disposal (GRI 306-5)
- GRI 302 Energy 2016: Energy Consumption within the organization (GRI 302-1), Total energy consumption outside the organization (GRI 302-2); Energy intensity (GRI 302-3)
- GRI 305 Emissions 2016: Direct (Scope 1) GHG Emissions (GRI 305-1), Energy Indirect (Scope 2) GHG Emissions (GRI 305-2), Other Indirect (Scope 3) GHG Emission (GRI 305-3)
SDGs
ผลกระทบต่อบริษัทจากประเด็นสำคัญ
ผลกระทบเชิงบวก
- เพิ่มประสิทธิภาพแผนงานการรับมือ (Business Continuous Plan: BCP) เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของบริษัทฯ รวมทั้งความเสี่ยงต่อการดำเนินงานที่จะกระทบผลประกอบการของบริษัทฯ
- สามารถรับมือการเปลี่ยนแปลงจากความเสี่ยงทั้งในระยะสั้นและระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที
ผลกระทบเชิงลบ
- สร้างความเสียหายแก่ภาพลักษณ์ และผลประกอบการทางธุรกิจของบริษัทฯ และอาจนำมาซึ่งความล้มเหลวในการดำเนินงานทางธุรกิจ เนื่องจากไม่สามารถรับมือความเปลี่ยนแปลงและผลกระทบจากความเสี่ยง
ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียภายนอก
ผลกระทบเชิงบวก
- ลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้เสียจากความเสี่ยงด้านการปฏิบัติการและความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากแผนการรับมือความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ ครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทุกกลุ่ม
- เพิ่มทักษะการวางแผนเพื่อแก้ปัญหาและตัดสินใจ ผ่านการจัดฝึกอบรมเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย
ผลกระทบเชิงลบ
- ผลประกอบการที่ลดลงของบริษัทฯ อันเนื่องมาจากการบริหารความเสี่ยงที่ไม่มีประสิทธิภาพ ส่งให้ผลตอบแทนทางการเงินของนักลงทุนต่ำลง รวมถึงส่งผลต่อผลตอบแทนต่อผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ ตลอดห่วงโซ่อุปทาน
- ความผันผวนของราคาวัตถุดิบ รวมทั้งสินค้า อันเนื่องมาจากความล้มเหลวในการจัดการความเสี่ยงด้าน ส่งผลให้ลูกค้าไม่ได้รับสินค้าที่มีคุณภาพ และอาจนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนและแรงงานในประเด็นต่าง ๆ
ความรุนแรงของผลกระทบ
ขอบเขตของผลกระทบ
ภายในองค์กร
ภายนอกองค์กร
แนวทางการดำเนินงานและผลการดำเนินงาน
ISR:
- การประเมินความเสี่ยง
- ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่
- วัฒนธรรมความเสี่ยง
GRI
SDGs
ผลกระทบต่อบริษัทจากประเด็นสำคัญ
ผลกระทบเชิงบวก
- ผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ที่ได้รับฉลากลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ หรือฉลากลดโลกร้อน กว่าร้อยละ 28 ของผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ซึ่งสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 52,561 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
- เพิ่มจำนวนผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำของบริษัทฯ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิต และการใช้ผลิตภัณฑ์
ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียภายนอก
ผลกระทบเชิงบวก
- ตอบสนองนโยบาย มาตรการ และข้อกำหนดของภาครัฐ ส่งผลให้ประเทศบรรลุเป้าหมายที่กำหนด และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
- ตอบสนองต่อความต้องการสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของลูกค้า
- ลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินธุรกิจ ในชุมชนและสังคมรอบข้าง
- ส่งเสริมและเพิ่มทักษะด้านนวัตกรรม ผ่านการนำเสนอ ลงทุน และวิจัยผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ สามารถพลักดันและสร้างการเรียนรู้ให้กับอุตสาหกรรมโอลีโอเคมีภัณฑ์ในเมืองไทย
ความรุนแรงของผลกระทบ
ขอบเขตของผลกระทบ
ภายในองค์กร
ภายนอกองค์กร
แนวทางการดำเนินงานและผลการดำเนินงาน
GRI
SDGs
ผลกระทบต่อบริษัทจากประเด็นสำคัญ
ผลกระทบเชิงบวก
- เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจชองบริษัทฯ จากการขับเคลื่อนโดยพนักงานที่มีศักยภาพ
- บริษัทฯ สามารถเติบโตไปได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนจากการดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีประสิทธิภาพ
ผลกระทบเชิงลบ
- บริษัทฯ สูญเสียชื่อเสียง ส่งผลให้ไม่สามารถดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถได้
- ผลประกอบการของบริษัทฯ ลดลงจากความสามารถทางการดำเนินธุรกิจที่ลดลง เนื่องจากขาดแคลนพนักงานที่มีศักยภาพ
- บริษัทฯ ขาดการพัฒนาด้านองค์ความรู้ ทำให้ล้าหลังและขาดความสามารถในการแข่งขัน
ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียภายนอก
ผลกระทบเชิงบวก
- พนักงานได้รับการส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดี รวมทั้งได้รับผลตอบแทนอย่างเป็นธรรม ตลอดจนสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ สำหรับตนเองและครอบครัว จากการทำงานร่วมกับบริษัทฯ
- พนักงานได้รับการส่งเสริมและพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถ ทำให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เพิ่มระดับความผูกพันของผู้มีส่วนได้เสียต่อบริษัทฯ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเจริญ และศักยภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
ผลกระทบเชิงลบ
- นำมาซึ่งประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและแรงงาน จากการจ้างงานและการได้รับค่าตอบแทนที่ไม่เป็นธรรม
- พนักงานไม่ได้รับการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน ส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพน้อยลง ไม่เป็นไปตามความคาดหวังของบริษัทฯ
- ผลตอบแทนสำหรับนักลงทุนต่ำลง เนื่องจากบริษัทฯ ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถมาช่วยส่งเสริมการดำเนินงาน
ความรุนแรงของผลกระทบ
ขอบเขตของผลกระทบ
ภายในองค์กร
ภายนอกองค์กร
แนวทางการดำเนินงานและผลการดำเนินงาน
ISR:
- การพัฒนาพนักงาน
- การดูแลพนักงาน
- การดึงดูดพนักงาน
- การสรรหาพนักงาน
GRI
- GRI 405 Diversity and Equal Opportunity 2016: Ratio of basis salary and remuneration (GRI 405-2)
- GRI 2 General Disclosure 2021 (GRI 2-7)
SDGs
ผลกระทบต่อบริษัทจากประเด็นสำคัญ
ผลกระทบเชิงบวก
- เพิ่มเสถียรภาพในการดำเนินงานของบริษัทฯ จากการคัดเลือกพันธมิตรทางธุรกิจ และคู่ค้าที่มีประสิทธิภาพ และยึดหลักความยั่งยืน
- ลดต้นทุนการผลิต จากการส่งเสริมให้คู่ค้าดำเนินงานภายใต้หลักการความยั่งยืน
- เพิ่มศักยภาพในการส่งมอบวัตถุดิบ ซึ่งช่วยส่งเสริมความต่อเนื่องของการส่งมอบผลิตภัณฑ์
ผลกระทบเชิงลบ
- ลดความน่าเชื่อถือ และสูญเสียชื่อเสียง จากการละเมิดกฎหมาย สิทธิมนุษยชนและแรงงาน ตลอดจนสร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม จากกระบวนการได้มาซึ่งวัตถุดิบและการจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่มีประสิทธิภาพ
ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียภายนอก
ผลกระทบเชิงบวก
- ให้ความรู้แก่เกษตรกรในประเทศไทยในการปลูกปาล์มอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพของเกษตรกรไทย ลดการตัดไม้ทำลายป่า และลดผลกระทบจากความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน ที่อาจจะเกิดขึ้นจาการปลูกปาล์มน้ำมัน และวัตถุดิบทางการเกษตรอื่น ๆ
ผลกระทบเชิงลบ
- เพิ่มผลกระทบจากการตัดไม้ทำลายป่า การจัดการทรัพยากรอย่างไม่ยั่งยืน ซึ่งส่งผลให้เกิดการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติและสร้างความเสียหายต่อความหลากหลายของระบบนิเวศน์ จากความล้มเหลวในการสื่อสารจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของผู้ผลิต /จัดหาสินค้า วัตถุดิบ และการบริการ (Supplier Code of Conduct)
ความรุนแรงของผลกระทบ
ขอบเขตของผลกระทบ
ภายในองค์กร
ภายนอกองค์กร
แนวทางการดำเนินงานและผลการดำเนินงาน
ISR:
- การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านความยั่งยืน
- การบริหารวัตถุดิบ
- การบริหารระบบขนส่งและคลังสินค้า
GRI
- GRI 308 Supplier Environmental Assessment 2016: Disclosure GRI 308-1 New suppliers that were screened using environmental criteria
- GRI 414 Suppliers Social Assessment 2016: Disclosure GRI 414-1 New Suppliers that were screened using social criteria
SDGs
ผลกระทบต่อบริษัทจากประเด็นสำคัญ
ผลกระทบเชิงบวก
- เพิ่มการลงทุนเพื่อพัฒนาวิจัย นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ ซึ่งช่วยเพิ่มมูลค่าต่อยอดผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ และสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ โดยการลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์คิดเป็น 3.96 ล้านบาท
- ส่งเสริมการพัฒนาและวิจัยนวัตกรรมกระบวนการ สามารถเสริมประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตลอดจนลดการปล่อยมลพิษ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม
ผลกระทบเชิงลบ
- การสูญเสียความ สามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ ส่งผลให้คู่แข่งสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดจากการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมที่ล่าช้า
ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียภายนอก
ผลกระทบเชิงบวก
- ราคาสินค้าลดลงพร้อมคุณภาพที่ดีขึ้น
- พนักงานได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะด้านนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการยกระดับคุณภาพของสินค้า
- คู่ค้าและลูกค้ามีการพัฒนานวัตกรรมร่วมกับทางบริษัทฯ นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของประเทศ
- ผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทนมากขึ้นจากการพัฒนาและประยุกต์ใช้นวัตกรรม
ผลกระทบเชิงลบ
- คุณภาพสินค้าไม่ตรงตามความต้องการของลูกค้า ส่งผลให้กำไรของนักลงทุนลดลง
- ลดประสิทธิภาพในการใช้วัตถุดิบให้เกิดประโยชน์สูงสุด อาจก่อให้เกิดปัญหาในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
ความรุนแรงของผลกระทบ
ขอบเขตของผลกระทบ
ภายในองค์กร
ภายนอกองค์กร
แนวทางการดำเนินงานและผลการดำเนินงาน
GRI
SDGs
ผลกระทบต่อบริษัทจากประเด็นสำคัญ
ผลกระทบเชิงบวก
- ลดความเสียหายจากประเด็นการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล และการโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือต่อบริษัทฯ และช่วยสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขัน
- ลดความเสียหายจากปัญหาการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลและการโจรกรรมข้อมูลส่วนตัว จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือของบริษัทฯและช่วยสร้างความ สามารถในการแข่งขัน
ผลกระทบเชิงลบ
- ข้อมูลรั่วไหล ก่อให้เกิดความเสียหายต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ รวมทั้งเพิ่มรายจ่ายจากการชดเชยค่าเสียหายสำหรับการรั่วไหลของข้อมูล
ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียภายนอก
ผลกระทบเชิงบวก
- รักษาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ซึ่งช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในการทำงานร่วมกับบริษัทฯ
ผลกระทบเชิงลบ
- นำไปสู่ประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษชน และสูญเสียความไว้วางใจของผู้มีส่วนได้เสีย จากการรั่วไหลข้อมูลส่วนบุคคล
ความรุนแรงของผลกระทบ
ขอบเขตของผลกระทบ
ภายในองค์กร
ภายนอกองค์กร
แนวทางการดำเนินงานและผลการดำเนินงาน
ISR:
- การผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ
- การบริหารระบบขนส่งและคลังสินค้า
GRI
SDGs
ผลกระทบต่อบริษัทจากประเด็นสำคัญ
ผลกระทบเชิงบวก
- สร้างภาพลักษณ์และชื่อเสียงแก่บริษัทฯ จากการสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อชุมชนผ่านการมีส่วนร่วมในด้านต่าง ๆ
ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียภายนอก
ผลกระทบเชิงบวก
- ยกระดับคุณภาพชีวิตและสุขภาวะที่ดีแก่คนในชุมชน
ความรุนแรงของผลกระทบ
ขอบเขตของผลกระทบ
ภายในองค์กร
ภายนอกองค์กร
แนวทางการดำเนินงานและผลการดำเนินงาน
GRI
- GRI 201 Economic Performance 2016: Community Investment (GRI 201-1)
SDGs
ผลกระทบต่อบริษัทจากประเด็นสำคัญ
ผลกระทบเชิงบวก
- เพิ่มโอกาสในการขยายธุรกิจร่วมกับลูกค้า
ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียภายนอก
ผลกระทบเชิงบวก
- ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า
ความรุนแรงของผลกระทบ
ขอบเขตของผลกระทบ
ภายในองค์กร
ภายนอกองค์กร
แนวทางการดำเนินงานและผลการดำเนินงาน
GRI
SDGs
ผลกระทบต่อบริษัทจากประเด็นสำคัญ
ผลกระทบเชิงบวก
- ลดความเสี่ยงในการตัดไม้ทำลายป่าในส่วนของการได้มาซึ่งวัตถุดิบของบริษัทฯ และช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียภายนอก
ผลกระทบเชิงบวก
- ป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติได้รับการฟื้นฟู ซึ่งเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ
- เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรจากการฟื้นฟูธรรมชาติและระบบนิเวศ
ความรุนแรงของผลกระทบ
ขอบเขตของผลกระทบ
ภายในองค์กร
ภายนอกองค์กร
แนวทางการดำเนินงานและผลการดำเนินงาน
ISR:
- การกักเก็บและชดเชยคาร์บอน
GRI
SDGs
ผลกระทบต่อบริษัทจากประเด็นสำคัญ
ผลกระทบเชิงบวก
- ลดจำนวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นภายในบริษัทฯ และสร้างสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ดีขึ้น ทำให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
ผลกระทบเชิงลบ
- กรณีเกิดอุบัติเหตุหรือการเสียชีวิตของพนักงานหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องในขณะทำงาน อาจก่อให้เกิดการหยุดชะงักในการดำเนินงานและกระทบต่อชื่อเสียงของบริษัทฯ
ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียภายนอก
ผลกระทบเชิงบวก
- ช่วยลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับพนักงาน และคู่ค้าระหว่างปฏิบัติงาน ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนและแรงงาน
ผลกระทบเชิงลบ
- อาจทำให้พนักงานทุพพลภาพ ซึ่งส่งผลกระทบต่อครอบครัวของพนักงานนำไปสู่ชีวิตที่ยากลำบาก
ความรุนแรงของผลกระทบ
ขอบเขตของผลกระทบ
ภายในองค์กร
ภายนอกองค์กร
แนวทางการดำเนินงานและผลการดำเนินงาน
GRI
- GRI 403 OHS 2018: Work Related injuries (GRI 403-9), Works Related Ill health (GRI 403-10)
- Number of process event safety (OGSS OG13), to be replaced by GRI 306 Waste 2016 (GRI 306-3) which is topic standard disclosure for 2021 O&G Sector Standard Ref.No. 11.8.2, 11.8.3
SDGs
ตัวอย่างการบริหารจัดการประเด็นที่สำคัญ
ประเด็นที่สำคัญ | ปัจจัยความเสี่ยงขององค์กร | เป้าหมายและความคืบหน้าของการดำเนินงาน | ตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน* | รายละเอียดเพิ่มเติม |
---|---|---|---|---|
กลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการบริหารจัดการพลังงาน | ปัจจัยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ (Strategic Risk): ปัจจัยความเสี่ยงด้านความพร้อมในการมุ่งสู่เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ (Climate Action Towards Net Zero Risk) |
|
|
กลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบริหารจัดการพลังงาน |
การจัดการด้านห่วงโซ่อุปทาน และการส่งเสริมมาตรฐานการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน RSPO |
ปัจจัยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการ (Operational Risk): ปัจจัยความเสี่ยงด้านคุณภาพราคา และความพร้อมของวัตถุดิบทางการเกษตร ปัจจัยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับชื่อเสียงของบริษัท (Reputational Risk): ปัจจัยความเสี่ยงด้านการสูญเสียชื่อเสียงของบริษัท จากการจัดซื้อวัตถุดิบที่ก่อให้เกิดความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อม และสังคม |
|
|
ISR
|
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย | ปัจจัยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินธุรกิจในปัจจุบัน (Business as Usual Risk): ปัจจัยความเสี่ยงด้านปฏิบัติการและความปลอดภัย (Operational and Safety Risk) |
|
|
การบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย |
Remark: Corporate KPIs คิดเป็น 70% ของ Executive KPIs
ข้อมูลเพิ่มเติม: การประเมินผลกระทบภายนอกในปี 2567