กลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ความท้าทายและความมุ่งมั่น
บริษัทฯ ตระหนักถึงความเสี่ยงทางด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบจากก๊าซเรือนกระจกที่รุนแรงขึ้น ตลอดจนจากภัยธรรมชาติ เช่น น้ำแล้ง น้ำท่วม มรสุม เป็นต้น ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ และอาจก่อให้เกิดการหยุดชะงักของการดำเนินธุรกิจในห่วงโซ่คุณค่า
ดังนั้น บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญในการบริหารจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในระดับสากล และแสดงจุดยืนในการมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามข้อตกลงตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 (COP26) และสมัยที่ 27 (COP27) โดยมุ่งมั่นในการบรรเทาผลกระทบและบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก พัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงานในกระบวนการผลิตอย่างคุ้มค่าและเต็มประสิทธิภาพ รวมทั้งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมการผลิตของบริษัท
ผู้มีส่วนได้เสียหลัก
พนักงาน
ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม
ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และนักวิเคราะห์
ภาครัฐ
คู่ค้า และคู่ค้าทางธุรกิจ
ลูกค้า
เป้าหมายการดำเนินงาน
ร้อยละ 20
ภายในปี 2573 เมื่อเทียบกับปีฐาน 2563
0 (Net Zero)
(ขอบเขต 1 และ 2) ภายในปี 2593
ร้อยละ 50
ภายในปี 2593
แนวทางการบริหารจัดการ
โครงสร้างการบริหารจัดการการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
กลยุทธ์หลักในการบริหารจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือ การกำหนดโครงสร้างการบริหารจัดการความเสี่ยง ซึ่งประกอบด้วย ประธานกรรมการ คณะกรรมการ และ ประธานคณะผู้บริหาร โดยแต่ละระดับมีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
ระดับการกำกับดูแล | หน้าที่ความรับผิดชอบ |
---|---|
ระดับการกำกับดูแล: ประธานกรรมการ | หน้าที่ความรับผิดชอบ:
กำกับดูแล วางกลยุทธ์ กำหนดแผนการดำเนินงาน และติดตามผลการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงและโอกาสขององค์กร ที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อกำหนดมาตรการรองรับความเสี่ยง และกรอบแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสมสำหรับบริษัทฯ รวมถึงการเตรียมความพร้อมของบริษัทฯ เพื่อสนับสนุนทิศทางสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (Low carbon Economy) อย่างเต็มรูปแบบ ที่อาจนำไปสู่การค้นพบโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ในอนาคต |
ระดับการกำกับดูแล: คณะกรรมการ | หน้าที่ความรับผิดชอบ:
คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการและการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีหน้าที่ติดตามตรวจสอบกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้บริษัทฯ สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การประยุกต์ใช้พลังงานทางเลือก และการตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจก |
ระดับการกำกับดูแล: ประธานคณะผู้บริหาร (CEO) | หน้าที่ความรับผิดชอบ:
มีหน้าที่หลักในการกระจายงาน และควบคุมการดำเนินงานของบริษัทฯ ให้สอดคล้องตามกลยุทธ์ นโยบาย และงบประมาณที่ได้จัดสรรไว้ รวมทั้งการกำหนดแผนรองรับและควบคุมการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายระยะสั้น และระยะยาวของบริษัทฯ ที่กำหนดไว้ |
แนวทางการรับมือการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ
GRI 201-2 (2016)
บริษัทฯ กำหนดเป้าหมายการมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2593 ผ่านแผนการดำเนินงาน (Decarbonization Pathway) ซึ่งมุ่งเน้น การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต (Efficiency-Driven) การสร้างผลิตภัณฑ์เคมีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Portfolio-Driven) และการชดเชยคาร์บอนไดออกไซด์ (Compensation Driven) พร้อมทั้ง กำหนดแผนการขยายขอบเขตการดำเนินงานให้ครอบคลุมการลดก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นโดยอ้อม (GHG Scope 3 Other Indirect Emissions) ตลอดห่วงโซ่คุณค่า
บริษัทฯ ได้วิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาส (Climate Risk and Opportunity Assessment) รวมถึงผลกระทบต่อภาคธุรกิจ ตามกรอบการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ (Task Force on Climate-related Financial Disclosures: TCFD) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับการการวางกลยุทธ์ และพัฒนาการรายงานผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
แผนการดำเนินงาน
- การผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiency Driven) การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและลดการปล่อยของเสีย ผ่านแนวทางการจัดการ 2 ส่วนหลัก ประกอบด้วย
- การใช้แหล่งพลังงานคาร์บอนต่ำ หรือพลังงานหมุนเวียน (Low carbon/ Renewable heat and power)
- แหล่งพลังงานคาร์บอนต่ำ อาทิ ก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas)
- แหล่งพลังงานหมุนเวียน อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar) พลังงานชีวมวล (Biomass) และก๊าซชีวภาพ (Biogas)
- การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน (Process Efficiency Measures)
- การลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ (Capital investment for Efficiency Enhancement)
- การใช้ระบบ Real-Time Monitoring และ Data-Driven Operational Optimization
- การทำ Proactive Maintenance
- การใช้แหล่งพลังงานคาร์บอนต่ำ หรือพลังงานหมุนเวียน (Low carbon/ Renewable heat and power)
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างมีความรับผิดชอบ (Portfolio Driven) โดยยังคงรักษาการเติบโตขององค์กร ผ่านการลงทุนในธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย
- กลุ่มผลิตภัณฑ์จากปาล์ม HEFA/ FA2/ Fatty alcohol ethoxylate/ FA Derivatives
- กลุ่มผลิตภัณฑ์จากอ้อย Ethanol/ Alcohol-to-Jet (ATJ)/ Bio-ethylene/ Green MeOH/ Electricity & Steam
- อื่นๆ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Food and Nutraceuticals
- การกักเก็บและชดเชยคาร์บอน (Compensation Driven) การประยุกต์วิธีดูดซับคาร์บอนจากธรรมชาติ และการแสวงหาเทคโนโลยีดูดซับคาร์บอน มาสนับสนุนการดำเนินงานให้ได้ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
- กิจกรรมชดเชยคาร์บอน (Carbon Offsets)
- การรับรองเครดิตการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificates: REC)
- การเข้าร่วมโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) หรือการขอการรับรองตามมาตรฐาน Verified Carbon Standard ของหน่วยงานระดับนานาชาติ VERRA
- การแก้ปัญหาเชิงธรรมชาติ (Nature-based solution)
- การปลูกป่า (Reafforestation)
- การแก้ปัญหาเชิงเทคโนโลยี (Technology-based solution)
- การดักจับและการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage: CCS)
- กิจกรรมชดเชยคาร์บอน (Carbon Offsets)
นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้มีการศึกษา และมีการวางแผนในการชดเชยคาร์บอนผ่านการซื้อใบรับรองเครดิตจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate: RECs) และคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) รวมไปถึงการดำเนินโครงการชดเชยคาร์บอนผ่านกิจกรรมปลูกป่าควบคู่ไปกับการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน ทั้งนี้บริษัทฯ ได้มีการนำ Internal carbon Pricing ใช้ในการตัดสินใจในการดำเนินงานของบริษัทฯ เพื่อให้การดำเนินงานของบริษัทฯ เป็นไปตามกฎระเบียบ การปลี่ยนพฤติกรรมของคนในองค์การ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในองค์กร และขับเคลื่อนการลงทุนคาร์บอนต่ำ
สามารถรับทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินการด้าน Internal Carbon pricing ได้ที่
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการตามกลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในเล่มรายงานความยั่งยืนแบบบูรณาการประจำปี 2567 ของบริษัทฯ
- โครงการเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนจากก๊าซชีวภาพ (Reneqable Energy from Biogas) โดยเป็นการก๊าซชีวภาพมาใช้เป็นพลังงานทดแทนเพื่อลดปริมาณการใช้น้ำมันเตา โดยบริษัทฯ ได้นำของเสียที่ได้จากการผลิตมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตก๊าซชีวภาพและคาดว่าในอนาคตบริษัทฯ จะมีการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนจากก๊าซชีวภาพเพิ่มขึ้น
- โครงการ Care the Wild “ปลูกป้อง Plant & Protect” ที่บริษัทฯ ได้มีการเข้าร่วมการปลูกป่า และส่งเสริมการดูแลต้นไม้ จนกลายเป็นผืนป่าอย่างแท้จริง ณ จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีการติดตามประเมินผลการปลูกต้นไม้อยู่เป็นประจำ
- โครงการ Green Heart Project เป็นโครงการกิจกรรมปลูกป่าโดยเริ่มตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบันมีจุดประสงค์เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนใน ในการสร้างพื้นที่สีเขียว อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และความหลาหลายทางชีวภาพ
- โครงการ Carbon Credit SPOPP CLIMA บริษัทฯ ได้ศึกษาแนวทางและเตรียมความพร้อมในการพลักดันให้บริษัทฯ เป็น Carbon credit Trader ผ่านการขายคาร์บอนเครดิตภาคเกษตร โดยเป็นการต่อยอดจากโครงการ SPOPP โดยการจัดทำคาร์บอนเครดิตเป็นการสร้างรายได้เพิ่มให้กับบริษัทฯ และเกษตรกรรายย่อย โดยคาดว่าจะดำเนินโครงการการได้ในปี 2568
- ผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ ซึ่งผ่านการรับรองฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint Products: CFP) และฉลากลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint Reduction: CFR)
สามารถรับทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลการดำเนินงานด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้ที่ Performance Data