การบริหารจัดการนวัตกรรม
ความท้าทายและความมุ่งมั่น
ปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสนใจในผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น และการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นของผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในท้องตลาด ถือเป็นหนึ่งในความท้าทายและโอกาสอันดีของบริษัทฯ ที่จะคิดค้นและวิจัยนวัตกรรมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและปลอดภัยต่อผู้บริโภค ในขณะเดียวกัน บริษัทฯ ยังสามารถหาช่องทางต่อยอดธุรกิจไปสู่ตลาดผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่จะสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าและผู้บริโภคได้อย่างเต็มที่ ตลอดจนพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อให้ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าสูงสุด และปล่อยมลพิษน้อยที่สุด
ผู้มีส่วนได้เสียหลัก
พนักงาน
ลูกค้า
ภาครัฐ
คู่ค้า และคู่ค้าทางธุรกิจ
เป้าหมายการดำเนินงาน
1.96 ล้านบาท
ในปี 2565
- ผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ กลุ่ม Fatty Alcohols Main-Cut และ Fatty Alcohol Pre-cut คิดเป็นร้อยละ 34
- ผลิตภัณฑ์ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก กลุ่มเมทิลเอสเทอร์ คิดเป็นร้อยละ 56
แนวทางการบริหารจัดการ
กลยุทธ์การพัฒนานวัตกรรมและผลิตภัณฑ์
กลยุทธ์การพัฒนานวัตกรรมและผลิตภัณฑ์
บริษัทฯ เล็งเห็นว่าการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และการพัฒนานวัตกรรม เป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญสำหรับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ รวมทั้งสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งทางการค้า โดยบริษัทฯ มีแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างนวัตกรรมผ่านการร่วมมือภายในกลุ่ม GC และ กลุ่มปตท. พร้อมทั้งสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรภายนอกองค์กร ตลอดจนร่วมมือกับลูกค้าวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าอย่างตรงประเด็น
นวัตกรรมแบบเปิด
บริษัทฯ สร้างเครือข่ายด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า ตลอดจนตอบโจทย์ธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศทั้งในปัจจุบันและในอนาคต โดยการลงทุนและทำการวิจัยร่วมกับองค์กรภายนอก ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงองค์กรการศึกษาหรือสถาบันวิจัย เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ของบริษัทฯ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยในปี 2565 บริษัทฯ มีโครงการนวัตกรรมแบบเปิดที่โดดเด่น อาทิ
โครงการพัฒนาน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพชนิดติดไฟยากจากน้ำมันปาล์ม และนำร่องการทดสอบภาคสนามเชิงบูรณาการ (Development of Less Flammable Bio-Transformer Oil From Palm Oil and Integrated Pilot Field Test to Promote Its Commercial And Sustainable Use)
เพื่อบรรเทาภาวะน้ำมันปาล์มล้นตลาด บริษัทฯ ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน พัฒนาโครงการนำร่องในการผลิตน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพชนิดติดไฟยากจากน้ำมันปาล์มด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นภายในประเทศ และทดสอบการใช้งานจริงภาคสนามในหม้อแปลงไฟฟ้า เป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่น้ำมันปาล์มของประเทศไทยให้สูงขึ้น อีกทั้งลดความเสี่ยงในการเกิดไฟไหม้ในหม้อแปลงไฟฟ้า ตลอดจนสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ผลิตปาล์มน้ำมัน
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการบริหารจัดการนวัตกรรม ในเล่มรายงานความยั่งยืนแบบบูรณาการประจำปี 2566 ของบริษัทฯ ได้ที่ รายงานความยั่งยืนแบบบูรณาการประจำปี 2566
โครงการ Green Health Project บริษัทฯ ร่วมมือกับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มลุฟฟาลา ชุมชนหนองแฟบ พัฒนาสูตรสบู่เหลวล้างมือให้กับวิสาหกิจลุฟฟาลาเพื่อผลิตและจัดจำหน่าย รวมทั้งดำเนินงานโครงการ SE Project ร่วมกับชุมชนเกาะกก พัฒนาและผลิตสูตรผลิตภัณฑ์ดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล โดยใช้ส่วนผสมกลีเซอรีนที่เป็นผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทฯ ร่วมกับการใช้วัตถุดิบจากชุมชน เพื่อช่วยผลักดันการสร้างธุรกิจร่วมกันระหว่างบริษัทฯ และชุมชน ควบคู่ไปกับการดูแลสุขอนามัย ใส่ใจชุมชนและสิ่งแวดล้อมภายใต้กลยุทธ์การดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม
นวัตกรรมผลิตภัณฑ์
บริษัทฯ เล็งเห็นโอกาสในการขยายขอบเขตการพัฒนาและวิจัยเพิ่มมูลค่าต่อยอดผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของลูกค้าและผู้บริโภค โดยในปี 2566 มีผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น อาทิ
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ปี 2566 ในบทความเป็นเลิศในการดำเนินธุรกิจ ในเล่มรายงานความยั่งยืนแบบบูรณาการประจำปี 2566 ของบริษัทฯ ได้ที่ รายงานความยั่งยืนแบบบูรณาการประจำปี 2566
- โครงการผลิตภัณฑ์ SLES (Sodium Lauryl Ether Sulfate) โดยการพัฒนาสาร SLES จากแฟตตี้แอลกอฮอล์ (Fatty Alcohols) ซึ่งเป็นสารลดแรงตึงผิวในผลิตภัณฑ์ Home & Personal Care (HPC) ซึ่งนำมาใช้ในการทำความสะอาด เพื่อต่อยอดธุรกิจไปสู่ตลาด
นวัตกรรมกระบวนการ
บริษัทฯ มุ่งพัฒนานวัตกรรมในกระบวนการผลิต เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตลอดจนลดการปล่อยมลพิษ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการนวัตกรรมกระบวนการ ปี 2566 ในบทความเป็นเลิศในการดำเนินธุรกิจ ในเล่มรายงานความยั่งยืนแบบบูรณาการประจำปี 2566 ของบริษัทฯ ได้ที่ รายงานความยั่งยืนแบบบูรณาการประจำปี 2566
โครงการ Optimize Steam ที่ระบบ Ejector
โดยใช้ Steam Ejector สร้างสุญญากาศในกระบวนการผลิต เพื่อลดปริมาณการใช้พลังงานไอน้ำ และลดพลังงานเพื่อผลิตไอน้ำ ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย
โครงการ ลดระยะเวลาการเปลี่ยนโหมดการผลิต
โดยพัฒนากระบวนการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ภายในกระบวนการผลิตแฟตตี้แอลกอฮอล์ ทดแทนการจัดส่งผลิตภัณฑ์ไปตรวจสอบยังห้องทดลองภายนอก เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการหยุดการผลิต ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลง
โครงการรวบรวมน้ำมันจากน้ำเสียเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ (Recovery Oil Loss from Wastewater)
โดยการติดตั้งหน่วยแยกน้ำมันที่ผสมอยู่ในน้ำเสียจากหอกลั่น แล้วนำน้ำมันกลับมาผลิตใหม่ (Recovery) ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้บริษัทฯ
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัด COD ในระบบบำบัดน้ำเสีย
โดยการลด COD ในระบบบำบัดน้ำเสีย แบบเติมอากาศ ผ่านการวางแผนจัดการน้ำเข้าระบบ และทดลองการกักเชื้อ เพื่อรักษาประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียในระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ ส่งผลให้สามารถรักษาประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียได้มากกว่า ร้อยละ 90
โครงการลดอัตราส่วนของ Purge ME residue ในการผลิตไบโอดีเซล
โดยการ Optimize ปฏิกิริยาให้สมบูรณ์และปรับปรุงระบบสุญญากาศ เพื่อลดการสูญเสียเมทิลเอสเทอร์ใน ME residue ซึ่งทำให้สามารถผลิตเมทิลเอสเทอร์ได้เพิ่มขึ้น
ผลการดำเนินงานด้านนวัตกรรม
2562 | 2563 | 2564 | 2565 | เป้าหมาย 2565 | |
---|---|---|---|---|---|
มูลค่าการลงทุนด้านวิจัย และนวัตกรรม (R&D Spending) (ล้านบาท) | 20.35 | 16.6 | 13.7 | 5.33 | N/A |
สัดส่วนการลงทุนด้านวัตกรรมเทียบกับรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ (ร้อยละ) | 0.155 | 0.091 | 0.066 | 0.020 | N/A |
จำนวนพนักงานด้านวิจัยและพัฒนา (คน) | 2.03 | 2 | 2 | 2 | N/A |