การกำกับดูแลและเป้าหมายด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศและไซเบอร์
ความท้าทายและความมุ่งมั่น
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีแนวโน้มพัฒนาและเติบโตอย่างรวดเร็ว รวมถึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำเนินธุรกิจขององค์กรทั่วโลก ส่งผลให้ประเด็นภัยคุกคามไซเบอร์ถือเป็นความเสี่ยงที่สำคัญ และถือเป็นความท้าทายสำหรับองค์กรทั่วโลกในการเตรียมความพร้อมรับมือ ทั้งนี้ บริษัทฯ ตระหนักถึงความเสี่ยงทางด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศและไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็นอุปสรรคที่เกิดจากการจู่โจมทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจากภายนอก หรือการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลบริษัทฯ จากภายใน ความเสี่ยงดังกล่าวสามารถส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ และความปลอดภัยทางข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน ลูกค้า และคู่ค้า ดังนั้น บริษัทฯ จึงมุ่งพัฒนาระบบเพื่อสร้างเกราะกำบังทางระบบสารสนเทศ ผ่านโครงสร้างการกำกับดูแลที่มั่นคง การปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การจัดอบรมเพื่อสร้างความมั่นใจ และความรู้ความเข้าใจให้แก่พนักงาน
ผู้มีส่วนได้เสียหลัก
พนักงาน
ลูกค้า
ภาครัฐ
คู่ค้า และคู่ค้าทางธุรกิจ
เป้าหมายการดำเนินงาน
คิดเป็นศูนย์
ไม่มีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับความไม่ปลอดภัยของข้อมูล และไม่มีพนักงาน และผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทฯ ตกเป็นเหยื่อของการจู่โจมทางสารสนเทศและไซเบอร์
แนวทางการบริหารจัดการ
การกำกับดูแลความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศและไซเบอร์
บริษัทฯ กำหนดนโยบายความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติในการพัฒนาระบบบริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ และมีกระบวนการควบคุมด้านความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศตามมาตรฐาน ISO27001 – Information Security Management และ Control Objectives for Information and Related Technologies (COBIT) ครอบคลุมถึงวิธีการปฏิบัติ (Procedure) ในการใช้งานด้านสารสนเทศ เพื่อบริหารจัดการการดำเนินงานด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศและไซเบอร์ ตลอดจนป้องกันและลดความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้กำหนดโครงสร้างการกำกับดูแลความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศและไซเบอร์ ซึ่งถือเป็นกระบวนการหลักในการสร้างความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ และการป้องกันการคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งในคณะทำงานแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับคณะกรรมการบริหาร ระดับผู้บริหาร และระดับคณะทำงาน
ระดับการกำกับดูแล | หน้าที่ความรับผิดชอบ |
---|---|
คณะกรรมการตรวจสอบ |
|
คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มบริษัทฯ |
|
คณะกรรมการบริหารจัดการ ความมั่นคงและความปลอดภัย สารสนเทศ |
|
คณะกรรมการบริหารจัดการ |
|
ผู้บริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศระดับสูง |
|
ระดับผู้บริหาร |
|
ระดับปฏิบัติการ |
|
การสร้างความพร้อมด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศและไซเบอร์
บริษัทฯ เสริมสร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้แก่พนักงานทุกระดับ ผ่านการทดสอบความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักถึงภัยคุกคามทางอีเมล (Phishing Test) และการสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ (E-Learning) Cyber Security Online ทั้งหมด 3 บทเรียน พร้อมทั้งประเมินความเข้าใจ โดยการทำแบบทดสอบท้ายบทเรียน เพื่อให้พนักงาน นำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน
1. Cybersecurity Case Study: การหลอกลวงทางอีเมล
2. การรักษาความปลอดภัยบนอุปกรณ์ส่วนตัว
3. การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ผลการทดสอบ Phishing Test ประจำปี 2566
ในปี 2566 พบว่า จากพนักงานที่เข้าร่วมการทดสอบทั้งหมด 265 คน พบว่าจำนวนพนักงานกดรายงาน Phishing report ได้อย่างถูกต้องมีจำนวน 121 คน คิดเป็น ร้อยละ 46 จากพนักงานที่เข้าร่วมทั้งหมด และตกเป็นเหยื่อจำนวน 1 คน คิดเป็น ร้อยละ 0 ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับการทดสอบครั้งก่อนหน้า พบว่า จำนวนพนักงานกดรายงาน Phishing report ได้อย่างถูกต้องเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 36 เป็น 46 และจำนวนตกเป็นเหยื่อลดลงจากร้อยละ 2 เป็น 0
กระบวนการและโครงสร้างพื้นฐานของสารสนเทศและไซเบอร์
บริษัทฯ จัดทำระบบบริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศตามมาตรฐานสากล และแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยของสินทรัพย์ตามมาตรฐานสากลที่สอดคล้องกับไซเบอร์ และทำการตรวจสอบและสอบทานระบบโครงสร้างพื้นฐานของสารสนเทศและไซเบอร์โดยหน่วยงานภายนอกเป็นประจำทุกปี ซึ่งจากการตรวจสอบและสอบทานในปีที่ผ่านมาพบว่ากระบวนการและโครงสร้างพื้นฐานของสารสนเทศและไซเบอร์ของบริษัทฯ เป็นไปตามมาตรฐานสากล และไม่พบเหตุบกพร่องใด ๆ
นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ดำเนินการตรวจสอบช่องโหว่ของระบบคอมพิวเตอร์ (Vulnerability Assessment: VA) อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง และการจัดทำแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Plan) เป็นประจำ โดยในปี 2566 บริษัทฯ มีการซ้อมแผนฉุกเฉินประจำปี (Cyber Incident Response Tabletop Exercise) เพื่อทดสอบระบบการรักษาความมั่นคงความปลอดภัยของข้อมูลและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทฯ โดยได้จำลองสถานการณ์การเกิด Cyber Attack จากการถูกเจาะเข้าระบบปฏิบัติการสารสนเทศของบริษัทฯ โดยบุคคลภายนอก ทำให้ข้อมูลของบริษัทฯ รั่วไหล
อีกทั้ง บริษัทฯ ยังทำการตรวจสอบช่องโหว่ของระบบคอมพิวเตอร์ทั้งภายในและภายนอกทุก ๆ 6 เดือน เพื่อเตรียมแผนการป้องกันและแก้ไขจากภัยคุกคาม โดยบริษัทฯ ได้แบ่งระดับความรุนแรง (Vulnerability Severity Levels) ออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ความรุนแรงระดับสูง (High) คามรุนแรงระดับกลาง (Medium) ความรุนแรงระดับต่ำ (Low)